
ประวัติ | History
วัดท่าการ้อง | WAT THAKALONG
บรรยากาศบริเวณวัด
ทางเข้าชมหุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์ !
อาคารแห่งนี้ติดแอร์ทั้งหลัง และตั้งอยู่บริเวณใกล้โบสถ์
โมเดล
ทรานฟอร์เมอร์
ผู้คนที่มาที่นี่มีหลายช่วงอายุ และยังมีครอบครัวที่พาเด็กๆมาด้วย ทางวัดจึงจัดตั้งหุ่นยนต์ เพื่อดึงดูดความสนใจแก่เด็กๆ
ทางเข้าวัด
ซุ้มทางเข้าวัด ติดกับลานจอดรถ
หุ่นตกแต่ง บริเวณรอบวัด
หุ่นตกแต่งนี้สามารถพบได้ทั่วไปตามทางเดินในวัด ซึ่งจะมีการแฝงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพุทธประวิติด้วย
ประวัติวัดท่าการ้อง
ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดท่าการ้อง เป็นพระอารามพื้นที่ตั้งของวัดโดยรวมเป็นที่ราบอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับ วัดวัดท่าการ้อง,บูชาหลวงพ่อยิ้ม ธรรมาราม และ วัดกษัตราธิราช อยู่ห่างจากเกาะเมืองประมาณ ๓ กิโลเมตร ตั้งอยู่นอกพระนครฯด้านทิศตะวันตกหรือบริเวณ ทุ่งประเชต ปัจจุบันสังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ตั้งอยู่ที่หมู่ ๖ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีที่ดินทั้งวัดโฉนดเลขที่ ๖๒๘ เนื้อที่ ๒ ไร่ ๗๘ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือติดตั้งอยู่บริเวณชุมชนอิสลามเป็นส่วนใหญ่ ท่ามกลางมัสยิดถึง ๕ มัสยิด โดยมีบ้านเรือนที่เป็นพุทธศาสนิกชนอยู่ประมาณ ๘-๑๐ หลังคาเรือนเท่านั้น
วัดนี้ร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่ข้าศึก เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ และด้วยกาลเวลาที่ผ่านมาเกือบ ๒๐๐ ปี ตลอดจนไม่ได้รับการบูรณะอย่างจิงจัง ทำให้โบราณสถานภายในวัดส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก หลังจากสถาปณากรุงเทพมหานครแล้ว พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี ต่างทรงปฏิสังขรณ์พระอารามทั้งภายในและภายนอกพระนครฯสืบมาทุกราชกาล จึงทำให้อุโบสถของวัดมีรูปแบบศิลปะสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ เจือปนอยุ่
วัดท่าการ้อง ซึ่งสันนิฐานตามพุทธะลักษณะและซากปรักหักพัง น่าจะสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ (สมเด็จพระชัยราชา) ประมาณปีพุทธศักราช ๒๐๗๖ หรือ ๔๗๔ ปีเศษมาแล้วเพราะมีท่าน้ำกั้นวัด ช่วงนั้นแผ่นดินค่อนข้างสงบ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองดีอีกทั้งวัดนี้ยังใช้เป็นที่ประทับพักผ่อนเพื่อเผยแพร่ศาสนาของ ลัทธิลังกาวงศ์ อีกด้วย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนว่า ผู้ใดเป็นผู้สร้างเพราะอยู่นอกเขต พระบรมมหาราชวัง สันนิฐานว่าคงจะเป็น วัดที่ราษฎร สร้างขึ้นเพราะไม่ปรากฏรายชื่อพระอารามหลวงสมัยอยุธยา แต่จากการสังเกตเม็ดมะยมรอบกำแพงพระอุโบสถ จึงสันนิฐานว่าน่าจะมีการบูรณะปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาล พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัดท่าการ้อง,บูชาหลวงพ่อยิ้ม3
จากหลักฐานทางโบราณคดีในการสำรวจของ พระยาโบราณราชธานินท์พร เดชะคุปต์ ซึ่งทำแผนที่การสำรวจวัดและโบราณสถานในสมัยรัชกาลที่ ๕ ระบุชื่อที่คล้ายกับวัดท่าการ้องไว้ ๒ ชื่อ คือ วัดท่า กับ วัดการ้อง ซึ่งอยู่ใกล้กัน
วัดท่าการ้อง พระนครศรีอยุธยา มีหลวงพ่อยิ้มเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำวัด วัดนี้ยังเป็นวัดแรกๆในการพัฒนาห้องน้ำให้น่าใช้และจัดสวนสวยให้น่าชม ปัจจุบันมีการจัดสถานที่ทำตลาดน้ำเพิ่มมาอีกด้วย วัดท่าการ้อง ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยการรวมวัด ๒ วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่าและวัดการ้อง สร้างขึ้นก่อนราว พ.ศ. ๒๐๙๒ โดยไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง มีเพียงบันทึกในพระราชพงศาวดารว่าพม่าได้มาตั้งค่ายที่วัดการ้อง ถึง ๒ ครั้ง คือ สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๖ โดย พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ ได้ยกทัพมาตั้งค่ายที่วัดการ้องเมื่อคราวสงครามช้างเผือกและอีกครั้งคือสมัยพระเจ้าเอกทัศ โดยเนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐
ต่อมาในยุคปัจจุบันเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ วัดท่าการ้องได้ถูกดัดแปลงเป็นโรงเรียนนายร้อยฝ่ายช่างเทคนิค โดยได้ใช้ศาลาการเปรียญเป็นห้องเรียนวัดท่าการ้อง มีจุดสนใจภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ หน้าบันเป็นไม้จำหลักอย่างสวยงาม ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับลายปูนปั้น ด้านหน้าอุโบสถประดับด้วยกระจกสี ภายในพระอุโบสถมี หลวงพ่อยิ้ม หรือ พระพุทธรัตนมงคล เป็นพระประธาน ภายนอกมีกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถหอระฆังสมัยพระนารายณ์ ก่ออิฐถือปูนรูปแปดเหลี่ยมศาลาการเปรียญเก่าเป็นเรือนไทยสมัยอยุธยาที่ยังหลงเหลือ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ โดยสร้างด้วยไม้สัก ปัจจุบันทางวัดได้สร้าง สมเด็จพุฒาจารย์โต องค์ใหญ่ไว้ภายในให้นักแสวงบุญได้กราบไหว้ขอพร





